วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2551

แนวการจัดกิจกรรม

5. สร้างสรรค์ปัญญา ตอบปัญหาทั่วไป
แนวคิด
กิจกรรมสร้างสรรค์ปัญญา ตอบปัญหาทั่วไป เป็นกิจกรรมสร้างนิสัยรักการอ่าน และส่งเสริมการอ่าน ที่กระตุ้นให้นักเรียนอยากรู้ สนใจในสิ่งใกล้ตัว และนักเรียนจะเกิดความตระหนักว่าความรู้นั้นมาจากการอ่าน ถ้าไม่อ่านจะไม่รู้
ลักษณะของกิจกรรม
เป็นกิจกรรมรายบุคคล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใช้ห้องสมุดมากขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนได้ทดสอบความรู้ความสามารถของตนเอง
3. เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน
4. เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินกับการทายปัญหา
วัสดุ / อุปกรณ์
1. คำถามใกล้ๆตัว และเกี่ยวกับประเทศไทยที่น่าสนใจ
2. แบบบันทึกผู้เข้าร่วมกิจกรรม
3. รางวัล
ขั้นตอนการขจัดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 ครูบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรม กำหนดวัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรม
1.2 ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทราบ
1.3 ให้นักเรียนช่วยกันส่งคำถามมาให้ครูบรรณารักษ์คัดเลือก
1.4 จัดพิมพ์คำถาม
2. ขั้นสร้างสรรค์ปัญญา ตอบปัญหาทั่วไป
2.1 นักเรียนร่วมกิจกรรมตอบปัญหา ลงชื่อร่วมกิจกรรม
2.2 ผู้ตอบคำถามเลือกข้อที่จะตอบ
2.3 เจ้าหน้าที่ห้องสมุดอ่านคำถาม
2.4 นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตอบคำถาม ถ้าตอบถูกได้รางวัล
3. ขั้นประเมินผล
3.1 สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
3.2 บันทึกรายชื่อนักเรียนที่ตอบปัญหาถูก
ข้อเสนอแนะ
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ปัญญา ตอบปัญหาทั่วไป อาจจัดได้เดือนละ 2 ครั้งสลับกับปริศนาพาเพลิน โดยใช้คำถามใกล้ตัวนักเรียน มีการรายงานผลการแข่งขันให้ผู้บริหารทราบ
ตัวอย่างคำถามความรู้ทั่วไป
1. จังหวัดสมุทรปราการมีกี่อำเภอ
2. ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการคือต้นอะไร
3. ส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดใด
4. แบบเรียนเล่มแรกของไทยคืออะไร
5. ผู้ประดิษฐ์อักษรไทยคนแรกคือใคร
6. วีรสตรีไทยคนแรกคือใคร
7. โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกของประเทศไทยคือโรงเรียนใด
8. โรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยคือที่ใด
9. ใครคือพระมหากษัตริย์ไทยที่ครองราชย์นานที่สุด
10. คนไทยเริ่มใช้นามสกุลเป็นครั้งแรกในสมัยใด
11. ธงไตรรงค์เริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยใด
12. ผู้เริ่มใช้คำว่าสวัสดีคือใคร
13. โรงเรียนคลองบางกะสีตั้งอยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขตที่เท่าไร
14. สนามบินสุวรรณภูมิเปิดใช้เมื่อปีพ.ศ.ใด
15. สุวรรณภูมิมีความหมายอย่างไร
...........................................................................
การประเมินผลใช้แบบบับทึก พฤติกรรม ดังตัวอย่าง
แบบบันทึกคะแนนการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ปัญญา ปัญหาทั่วไป
1. สนใจร่วมกิจกรรม
2. มีส่วนร่วมในกิจกรรม
3. มีความสนุกสนาน
4. มีมารยาทในการร่วมกิจกรรมกิจกรรม
5. ตอบได้ถูกต้องสรรค์ปัญญา ปัญหาทั่วไป

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551

แนวการจัดกิจกรรม

4. ปริศนาพาเพลิน
แนวคิด
กิจกรรมปริศนาพาเพลิน เป็นการตอบปัญหาปริศนาคำทาย เป็นกิจกรรมสร้างนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมสติปัญญา และการคิดวิเคราะห์
ลักษณะการจัดกิจกรรม
เป็นกิจกรรมรายบุคคล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง และการพูด
2. เพื่อส่งเสริมสติปัญญาและการคิดวิเคราะห์
3. เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน
4. เพื่อให้นักเรียนมีความสนุกสนานเพลิดเพลินกับการทายปัญหา
วัสดุ / อุปกรณ์
1. คำถามปริศนาคำทาย
2. แบบบันทึกผู้เข้าร่วมกิจกรรม
3. แบบรายงานการจัดกิจกรรม
4. รางวัล
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 ครูบรรณารักษ์และนักเรียนที่เป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุดร่วมกันวางแผน ที่จะจัดกิจกรรม กำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่จะจัดกิจกรรม
1.2 ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทราบ
1.3 ให้นักเรียนร่วมส่งคำถามปริศนาคำทาย
2. ขั้นปริศนาพาเพลิน
2.1 นักเรียนร่วมกิจกรรมทายปัญหาลงชื่อ
2.2 นักเรียนเลือกข้อที่จะทายปัญหา
2.3 เจ้าหน้าที่ห้องสมุดอ่านคำทาย
2.4 นักเรียนที่ตอบปริศนาคำทายถูกรับรางวัล
3. ขั้นประเมินผล
3.1 สังเกตการร่วมกิจกรรมของนักเรียน
3.2 บันทึกรายชื่อนักเรียนที่ตอบปัญหาถูก
ข้อเสนอแนะ
1. การจัดกิจกรรมปริศนาพาเพลิน อาจจัดเดือนละ 2 ครั้ง ตามความเหมาะสม
2. ใช้เวลาช่วงพักกลางวันในการจัดกิจกรรม
3. รายงานผลการแข่งขันให้ผู้บริหารทราบ
ตัวอย่างปริศนาคำทาย
1. อะไรเอ่ย..... แก่เรียกห้าว สาวเรียกอ่อน (มะพร้าว)
2. อะไรเอ่ย..... ต้นเขียวๆ ใบเรียวชี้ฟ้า (ต้นไผ่)
3. อะไรเอ่ย..... ต้นเท่าขา ใบวาเดียว (กล้วย)
4. อะไรเอ่ย..... ต้นเท่าแขน ใบแล่นเสี้ยว (อ้อย)
5. อะไรเอ่ย..... ต้นเท่าครก ใบดกลูกดำ (ต้นตาล)
6. อะไรเอ่ย..... ต้นสูงเทียมฟ้า มีกะลาใส่น้ำ (มะพร้าว)
7. อะไรเอ่ย..... น้ำเต็มเมื่ออ่อน น้ำคลอนเมื่อแก่ (มะพร้าว)
8. อะไรเอ่ย..... ใบหยักหยัก ลูกรักเต็มคอ (มะละกอ)
9. อะไรเอ่ย..... ฝนตกสิบห่า หลังคาไม่เปียก (ใบบัว ใบบอน)
10. อะไรเอ่ย..... มาจากศรีราชา มีตารอบตัว (สับปะรด)
11. อะไรเอ่ย..... มีตารอบหัว เอาตัวไม่รอด (สับปะรด)
12. อะไรเอ่ย..... เรือนปั้นหยา ทาสีเขียว นอนคนเดียว กางมุ้งขาว (น้อยหน่า)
13. อะไรเอ่ย..... ลูกมันเหลือง เหลือง มีเฟืองรอบตัว (มะเฟือง)
14. อะไรเอ่ย..... ขี้อยู่บนหัว ตัวอยู่ในน้ำ (กุ้ง)
15. อะไรเอ่ย..... ขึ้นน้ำตาเหลือก ใช้เหงือกหายใจ (ปลา)

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

แนวการจัดกิจกรรม

3. ตอกไข่ได้รางวัล
แนวคิด
กิจกรรมตอกไข่ได้รางวัล เป็นกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียน และสร้างนิสัย
รักการอ่าน ผู้จัดสามารถบูรณาการได้ทุกกลุ่มสาระ
เป็นบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้ที่นักเรียนมีความคิดว่าไม่ได้ถูกบังคับให้อ่านและเขียน
โดยใช้รางวัลเป็นการเสริมแรง
ลักษณะกิจกรรม
เป็นกิจกรรมรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
วัสดุ / อุปกรณ์
1. โหล 8 ใบ
2. ไข่จำนวนตามความเหมาะสม
3. บัตรคำขนาดที่ใส่ไข่ได้ ทุกกลุ่มสาระ
4. กระดาษสีรูปไข่
5. ป้ายนิเทศ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
1. นำคำแต่ละกลุ่มสาระใส่ในไข่
2. นำไข่ใส่โหลตามกลุ่มสาระ
2. ขั้นตอกไข่
1. ให้ผู้ร่วมกิจกรรมเลือกกลุ่มสาระที่จะอ่าน
2. ผู้ร่วมกิจกรรมหยิบไข่ เปิดไข่แล้วคัดคำลงในกระดาษรูปไข่
3. อ่านคำให้เจ้าหน้าที่ฟัง ถ้าอ่านได้ถูกต้องจะได้รับรางวัล
5. นำคำที่คัดลงในกระดาษรูปไข่ ไปติดบนป้ายนิเทศ
ขั้นประเมินผล
1. สังเกตมารยาทการเข้าร่วมกิจกรรม
2. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
3. สังเกตการอ่าน
4. ความสนใจในกิจกรรม
..........................................................
แบบบันทึกคะแนนการเข้าร่วมกิจกรรมตอกไข่ได้รางวัล
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ..............
โรงเรียนคลองบางกะสี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
...........................................
วัดพฤติกรรมของนักเรียนและให้คะแนนตามเกณฑ์
1. สนใจร่วมกิจกรรม
2. มีส่วนร่วมในกิจกรรม
3. มีความสนุกสนาน
4. มีมารยาทในการร่วมกิจกรรม
5. อ่านได้ถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

แนวการจัดกิจกรรม

2.อยากฟังนิทาน น้องวานพี่เล่า
แนวคิด
กิจกรรมอยากฟังนิทาน น้องวานพี่เล่า เป็นกิจกรรมการเล่านิทานปากเปล่าโดยใช้น้ำเสียง และแสดงกิริยาท่าทางประกอบ เป็นการเล่าที่ผู้เล่าจะต้องมีความสามารถในการทำเสียงต่างๆได้ เช่นสามารถเลียนเสียงร้องของสัตว์ หรือตัวละครในเรื่องได้ เลียนเสียงปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่นเสียงลม เสียงน้ำตก เสียงฟ้าร้อง ฯลฯ หรือเสียงของคนหรือสัตว์ที่ปรากฏในเรื่องได้ โดยมีขั้นตอนในการเล่าดังนี้
ลักษณะของกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่มตามความสนใจ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนสนุกสนานในการฟัง ให้นักเรียนมีทักษะในด้านการฟัง ฟังแล้วตอบคำถามได้
2.เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน
3.เพื่อให้นักเรียนนำแนวคิดที่ได้จากนิทานไปปฏิบัติตนในทางที่ดี
วัสดุ/อุปกรณ์
1.นิทานที่ครูบรรณารักษ์คัดเลือกไว้ประมาณ 1 – 2 เรื่อง
2.แบบสังเกตพฤติกรรมในการฟัง
3.แบบประเมินผลการตอบคำถามจากการฟัง
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.ขั้นเตรียมการ
1.1 เลือกเรื่องที่มีคุณค่า สนุกสนานมีคติเตือนใจ เหมาะสมกับวัยของนักเรียน
1.2 เตรียมตัวผู้เล่า ใช้ผู้เล่า 1 คน หรือเป็นกลุ่ม
1.3 ผู้เล่าอ่านเรื่องทั้งหมดให้เข้าใจและจำเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ให้ได้
1.4 ฝึกซ้อมการเล่าเรื่อง เน้นน้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง ในการเล่า ให้สอดคล้องกับเรื่อง และฝึกเล่าจนเป็นที่พอใจ
1.6 จัดหาสถานที่ที่ใช้ในการเล่า เตรียมฉาก เวที ให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่อง
2.เล่าสู่ผู้ฟัง
2.1 ดำเนินการเล่าตามขั้นตอนที่ฝึกซ้อม เน้นการเปิดเรื่อง การเล่าตามลำดับเหตุการณ์ น้ำเสียงที่ใช้ และการสรุปเรื่อง
2.2 ผู้เล่าแสดงสีหน้า ท่าทางประกอบการเล่า น้ำเสียงสูงต่ำชัดเจน ทำเสียงให้เร้าใจ
ใส่อารมณ์ดีใจ โศกเศร้า หวาดกลัว ตื่นเต้น เลียนเสียงธรรมชาติ หรือทำเสียงพูดของคนหรือสัตว์ที่ปรากฏในเรื่อง
3.รวมพลังตอบคำถาม
3.1 ผู้เล่าควรเปิดโอกาส ให้นักเรียนมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น ให้เติมหรือตอบคำถามขณะเล่า
3.2 ให้นักเรียนเล่าตามไปด้วยในขณะที่เล่า โดยเฉพาะข้อความที่เล่าซ้ำๆกัน
3.3 ผู้เล่าใช้คำถามนำเพื่อให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
4. ตรวจสอบประเมินผล
4.1 สังเกตความสนใจในการร่วมกิจกรรมของนักเรียน
4.2 แจกใบงานให้นักเรียนตอบคำถาม
4.3 ตรวจผลงาน
ข้อเสนอแนะ
การเล่านิทานปากเปล่านี้ ถ้าต้องการให้นักเรียนได้อรรถรสในการฟัง ไม่ควรมีอุปกรณ์สื่อ
ประกอบการเล่าที่เบี่ยงเบนความสนใจในการฟังมากนัก ยกเว้นแต่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่กำลังพูดเท่านั้น

ตัวอย่างนิทาน เรื่องหญิงชรากับหมูน้อย( ดัดแปลงจากเรื่อง The Old Woman and Her pig )
1. ขั้นเตรียมการ
เตรียมเรื่องที่เล่า ซักซ้อมบท ลำดับขั้นตอนให้เข้าใจ

หญิงชราซื้อลูกหมูจากตลาด ระหว่างทางเข้าหมู่บ้าน หมูน้อยไม่ยอมปีนรั้วเตี้ยๆ เข้าบ้าน
หญิงชราจึงไปหาสุนัข ให้ไปกัดหมู สุนัขบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาไม้เรียว ให้ไปหวดสุนัข เพราะสุนัขไม่กัดหมู ไม้เรียวบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาไฟ ให้ไปช่วยเผาไม้เรียว เพราะไม้เรียวไม่ไปหวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู ไฟบอกว่าไมใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาน้ำ ให้ช่วยดับไฟ เพราะไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู น้ำบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาวัว ให้ไปกินน้ำ เพราะน้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู วัวบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาคนขายเนื้อ ให้ไปฆ่าวัว เพราะวัวไม่กินน้ำ น้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู คนขายเนื้อบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาเชือก ให้ไปรัดคอคนขายเนื้อ เพราะคนขายเนื้อไม่ฆ่าวัว วัวไม่กินน้ำ
น้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู เชือกบอกว่าธุระไม่ใช่
หญิงชราจึงไปหาหนู ให้ไปกัดเชือก เพราะเชือกไม่รัดคอคนขายเนื้อ คนขายเนื้อไม่ฆ่าวัว
วัวไม่กินน้ำ น้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู
หนูบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาแมว ให้ช่วยกัดหนู เพราะหนูไม่กัดเชือก เชือกไม่รัดคอคนขายเนื้อ คนขายเนื้อไม่ฆ่าวัว วัวไม่กินน้ำ น้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข
สุนัขไม่กัดหมู แมวบอกว่าหิว ขอให้ไปรีดนมวัวมาให้
หญิงชราจึงไปหาวัว วัวบอกว่าขอกินหญ้า แล้วจึงจะให้นมวัว หญิงชราจึงไปขอหญ้าให้วัว
วัวให้นม หญิงชราเอานมไปให้แมว แมวจึงกัดหนุ หนูจึงไปกัดเชือก เชือกจึงไปรัดคอคนขายเนื้อ
คนขายเนื้อจึงไปฆ่าวัว วัวจึงไปกินน้ำ น้ำจึงรีบไปดับไฟ ไฟจึงรีบไปเผาไม้เรียว ไม้เรียวจึงรีบไปหวดสุนัข สุนัขจึงรีบไปกัดหมู หมูจึงรีบกระโดดข้ามรั้วเข้าบ้าน หญิงชราจึงกลับถึงบ้านก่อนค่ำ
(สมทรง แสงแก้ว. เทคนิคการเล่านิทานแบบต่างๆ, อ้างในกรมวิชาการ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. 2543:152 –153)
2. เล่าขานสู่ผู้ฟัง
ดำเนินการเล่า โดยเน้นเสียง ท่าทาง ใส่อารมณ์ตามบทของนิทาน
3.รวมพลังตอบคำถาม
หมายถึงให้นักเรียนที่ฟังมีส่วนร่วมในการเล่านิทาน เช่น ให้นักเรียนที่ฟังเล่าตามผู้เล่า โดยเฉพาะข้อความซ้ำ เด็กจะเล่าด้วยความสนุก และมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วยเช่น
...หญิงชราจึงไปหาหนู ให้ไปกัด.....เพราะเชือกไม่รัดคอคน...... คนขายเนื้อไม่......
วัวไม่กิน..... น้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผา..... ไม้เรียวไม่หวดสุนัข ............หนูบอกว่าไม่ใช่ธุระ
4. ตรวจสอบประเมินผล
หลังจากผู้เล่า เล่านิทานจบลงแล้ว ลองประเมินผลการฟังนิทานจากนักเรียน โดยให้ผู้ฟังทำกิจกรรมดังนี้
1.เว้นข้อความให้นักเรียนเติมคำตอบ เช่น
1.1 อะไรไม่เผาไม้เรียว..........................
1.2 ใครไม่กินน้ำ......................................
1.3 อะไรไม่ไปรัดคอคนขายเนื้อ.....................................
1.4 ใครไม่กัดเชือก
2.ให้นักเรียนตอบคำถามจากการฟังนิทานจบแล้ว
2.1 ในเรื่องนี้มีสัตว์ทั้งหมดกี่ชนิด
2.2 คำว่าไม่ใช่ธุระ หมายความว่าอย่างไร
2.3 สัตว์ชนิดใดที่ช่วยให้หญิงชรากลับถึงบ้านก่อนค่ำ
2.4 ทำไมหมูน้อยไม่ยอมเข้าบ้าน
2.5 นักเรียนคิดว่าการกระทำของหมูน้อยเป็นอย่างไร
3.ให้นักเรียนเรียงลำดับการเดินทางของหญิงชราในการขอความช่วยเหลือพาหมูน้อยเข้าบ้าน
น้ำ วัว ไฟ แมว สุนัข ไม้เรียว คนขายเนื้อ เชือก หญ้า หนู

ตอบ หญิงชรา ........ .......... .......... .......... ............

เครื่องมือวัดผลและประเมินผล
แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม
1. การร่วมกิจกรรม2. มีส่วนร่วมในกิจกรม3. กล้าแสดงความคิดเห็น 4. มีความสนุกสนาน5. มีมารยาทในการฟัง
การปฏิบัติตนในการเข้าร่วมกิจกรรม
ควรปรับปรุง พอใช้ ดี 0 1 2

ลงชื่อ.....................บรรณารักษ์ ลงชื่อ........................ผู้บริหาร

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กิจกรรมพัฒนาห้องสมุด

1. ตอบคำถามจากสารานุกรม อุดมปัญญา
แนวคิด
กิจกรรม “ตอบคำถามจากสารานุกรม อุดมปัญญา” เป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ฝึกคิด
วิเคราะห์ และฝึกทักษะการเขียน โดยนักเรียนจะต้องวิเคราะห์ว่าคำถามที่ถามนั้นเรื่องอะไร จากนั้นจึงจะไปค้นหาคำตอบได้
ลักษณะกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคลตามความสนใจ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์
2.เพื่อฝึกทักษะการอ่าน
3.เพื่อฝึกทักษะการเขียน
วัสดุ / อุปกรณ์
1.คำถามจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนในพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.กระดาษคำตอบ
3.กล่องใส่คำตอบ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชาสัมพันธ์ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม โดยกิจกรรมนี้จะจัดเดือนละ 2 ครั้ง
จับรางวัลและมอบรางวัลผู้ตอบถูก ในวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
1.2 ให้นักเรียนส่งคำถามมาให้ครูบรรณารักษ์คัดเลือก
1.3 ให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจัดพิมพ์ ติดคำถามไว้ที่ป้ายนิเทศ
2.ขั้นอุดมปัญญา
2.1 ให้นักเรียนวิเคราะห์คำถาม ว่าถามเกี่ยวกับเรื่องอะไร จากนั้นค้นคว้าหาคำตอบ เขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบพร้อมเขียนเล่ม และหน้าที่ค้น ลงในกระดาษคำตอบที่ครูบรรณารักษ์เตรียมไว้ให้
3.สืบหาคนเก่ง
3.1 เปิดคำตอบ เพื่อตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่ตอบได้ถูกต้อง
3.2 ผู้บริหารจับรางวัล และมอบรางวัล ทุกวันที่ 15 และ 30 ของเดือน
ข้อเสนอแนะ
1.มีการรายงานกิจกรรมทุกสิ้นเดือน
2.จดรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรมเป็นคะแนนสะสมไว้เพื่อมอบรางวัลให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุดในเวลาสิ้นปี
3.รายงานผลการแข่งขันให้ผู้บริหารทราบ
............................................................
แบบบันทึกคะแนนผู้เข้าร่วมกิจกรรมตอบคำถามสารานุกรมอุดมปัญญา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ..........
โรงเรียนคลองบางกะสี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2

ที่ ชื่อ - นามสกุล ครั้งที่ .... ครั้งที่ .... ครั้งที่ .... ครั้งที่ ... ( 10 ครั้ง) รวมคะแนน........คะแนน
1.
2.(เท่าจำนวนนักเรียน)
ลงชื่อ...............บรรณารักษ์ ลงชื่อ..................ผู้บริหาร

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

กิจกรรมพัฒนาห้องสมุด

แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ห้องสมุดโรงเรียนคลองบางกะสี
ของ นางสาวพัชรา สุกใส
ครูโรงเรียนคลองบางกะสี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
คำนิยม

การดำเนินงานห้องสมุดในโรงเรียนประถมศึกษา จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ต้องบอกว่า มีความยากลำบากจริงๆ โรงเรียนใหญ่ก็บอกว่าทำไม่ได้เพราะหนังสือมาก ลงทะเบียนไม่ไหว โรงเรียนเล็กก็บอกว่า ทำไม่ได้ มีครูน้อย ถามผู้บริหารก็บอกว่าทำไม่ได้ ไม่มีครูบรรณารักษ์ ถามครูบรรณารักษ์ก็บอกว่าทำไม่ได้ ผู้บริหารไม่ให้ความสนใจ แต่พอถามพร้อมๆกันกลับได้คำตอบว่า ที่ไม่ทำเพราะไม่มีงบประมาณ ขาดวัสดุอุปกรณ์
แต่สำหรับที่โรงเรียนคลองบางกะสี เราทำเท่าที่เราทำได้ ทำให้มันมีชีวิตตามชื่อ เปิดยุทธศาสตร์เชิงรับ โดยการการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน เปิดยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อให้เด็กอ่านออกเขียนได้ตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ต้องขอขอบคุณครูพัชรา สุกใส บรรณรักษ์ ที่ถึงแม้จะมีชั่วโมงสอน 25-30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ก็หาเวลาบริหารจัดการห้องสมุดจนได้ เกิดผลเป็นที่ประจักษ์และชื่นชมแก่ผู้เยี่ยมชม ขอบคุณครูทุกคนที่ร่วมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน จนเกิดการบูรณาการกับห้องสมุดอย่างดียิ่ง

ผู้อำนวยการโรงเรียน
3 กันยายน 2550
กิตติกรรมประกาศ
การจัดทำเอกสารแนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของห้องสมุดโรงเรียนฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ช่วยจัดหาเอกสารมาให้ศึกษา และให้คำแนะนำ คือ ผอ.สัมพันธ์ สาลีผลิน จึงขอขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้
แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านนี้ครูบรรณารักษ์ ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม หรือปรับปรุงเพิ่มเติมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนการสอนได้
พัชรา สุกใส
3 กันยายน 2550
แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของห้องสมุดโรงเรียนคลองบางกะสี
1. ตอบคำถามจากสารานุกรม อุดมปัญญา
2. อยากฟังนิทาน น้องวานพี่เล่า
3. ตอกไข่ได้รางวัล
4. ปริศนา พาเพลิน
5. สร้างสรรค์ปัญญา ตอบปัญหาทั่วไป
6. เกมลับสมองประลองความคิด
7. เปิดพจนานุกรม สะสมความหมาย
8. เขียนสวยด้วยมือหนู
9. ขับขานบทอาขยาน
10. เปิดโลกการอ่าน ผ่านบทร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทำนองเสนาะ
11. รักการอ่านสู่งานเขียน
12. ป้ายนิเทศของหนู ครูช่วยสร้างสรรค์
13. เก่าดี มีคุณค่า
14. ตื่นตา ตื่นใจ กับหนังสือใหม่ในวันนี้
15. หรรษาสัปดาห์ห้องสมุด

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การพัฒนาห้องสมุด

ในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนได้พัฒนาห้องสมุดตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือโครงการห้องสมุดมีชีวิต รูปแบบของการพัฒนาได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยทั้งด้านการบริหารจัดการและการบริการ โดยยึดหลักคิดที่ว่าห้องสมุดจะมีชีวิตได้ต้อง มีกิจกรรมหลากหลาย การดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องและมีการเสริมแรงเพื่อให้นักเรียนซึ่งเป็นผู้รับบริการสนใจห้องสมุด
ก่อนการดำเนินการห้องสมุดมีชีวิต ได้อ่านบทความของคุณสัมพันธ์ พลันสังเกตุ ทำให้มีแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจนขึ้นและขอเผยแพร่บทความไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ห้องสมุดมีชีวิต (Living Libary)

คำว่า"ห้องสมุดที่มีชีวิต"น่าจะเป็นคำประเภท "คิดใหม่ทำใหม่"ที่สร้างความสั่นสะเทือนและเปลี่ยนแปลงให้กับวงการห้องสมุดอุดมศึกษาเป็นอย่างมาก แต่ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่ห้องสมุดที่มีชีวิตนั้นค่อนข้างจะคลุมเครือและสับสนอยู่ไม่น้อย และนี่ก็เป็นความคิดเห็น ส่วนบุคคลในอีกมุมมองหนึ่งที่ผู้เขียนมีต่อ "ห้องสมุดที่มีชีวิต" เท่านั้น
แรกเริ่ม ไม่ทราบว่าคำว่า "ห้องสมุดที่มีชีวิต" จะมีใครใช้มาก่อนหรือไม่หรือท่านนายกฯ(ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)เป็นผู้ใช้คำนี้ เป็นคนแรก ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ" ซึ่งจัดโดยประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ(ปอมท.)ร่วมกับ มหาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2544 ซึ่งท่านนายกฯ ได้กล่าวตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับห้องสมุดไว้ว่า "ปัญหาที่ยังล้าหลังมากก็คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย ในปัจจุบันทำห้องสมุดแค่ขอหนังสือเข้าห้องเท่านั้น แนวความคิดในการปฏิรูปอุดมศึกษาครั้งนี้ ต้องการให้สร้างเป็นห้องสมุด ที่มีชีวิตมากกว่า ไม่เพียงแต่ลงทุนเรื่องสถานที่แล้วไม่มีคนใช้...ขุมมันสมองของเด็กอยู่ที่ห้องสมุดซึ่งรัฐบาลพร้อมสนับสนุนงบประมาณแก่ อาจารย์ที่จะสร้างห้องสมุด โดยจะต้องเป็นห้องสมุดที่มีชีวิตเกิดแล้วโต ไม่ใช่ห้องสมุดที่เกิดแล้วตายโดยซื้อหนังสือที่เก็บแล้ว ไม่มีคนเข้าไปอ่าน... อยากเห็นเด็กไทยรักการอ่าน โดยพัฒนาห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต ซึ่งนอกจากจะมีหนังสือแล้ว จะต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งห้องสมุดจะต้องเปิดให้ประชาชนได้เข้ามาใช้บริการได้ตลอดเวลา
ท่านนายกฯ ได้กล่าวถึงห้องสมุดที่มีชีวิตอีกครั้งหนึ่งในการให้สัมภาษณ์นักข่าวรุ่นเยาว์ จากศูนย์ข่าวเยาว์ชนไทย ช่อง 11 ถึงนโยบายหลัก ที่รัฐบาลจะทำเพื่อเด็กและเยาว์ชนในปี 2545 มีความบางตอนว่า "อยากเห็นเด็กไทยพัฒนาตัวเองอย่างเต็มความสามารถ เต็มศักยภาพที่เด็กไทย มีอยู่ ดังนั้น ในปีนี้จะพยายามทำให้เด็กๆมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาให้ได้ โดยสิ่งที่อยากทำให้เด็กไทยที่สุดในตอนนี้คือ อยากทำห้องสมุดมี ชีวิตให้ เด็ก ห้องสมุดที่มีชีวิตจะต้องเป็นห้องสมุดที่เด็กๆเข้าไปอยู่แล้วมีความสุข มีความสนุก มีอาหารการกิน มีเครื่องเล่นที่สร้างสรรค์ เครื่องเล่น ที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย มีหนังสือที่เปลี่ยนแปลงเสมอ มีหนังสือแปลกๆ ใหม่ๆ ให้เด็กๆได้ค้นคว้า มีหนังสือหลากหลายประเภทและที่แน่นอน ต้องมีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตให้เด็กๆได้เรียนรู้ "
จากสรุปผลการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาอุดมศึกษาตามนโยบายของท่านนายกฯ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2546 ที่ทบวงมหาวิทยาลัย ที่ ประชุมอันประกอบด้วยอธิการบดีมหาวิทยาลัย/สถาบันได้มีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในกานดำเนินงานตามประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะใน ประเด็น ที่ 3 นโยบายในการพัฒนา Living Library ที่ประชุมได้อภิปรายโดยมีความเห็นและข้อเสนอแนะ สรุปได้ 7 ข้อ ในข้อ 1 ได้กล่าวว่า "พัฒนา ระบบห้องสมุดให้มีลักษณะเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Library) คือเป็นการประสมประสาน แบบบูรณาการทั้งในส่วนการทำเป็นห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์ (E-Library หรือDigital Library) การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และการสืบค้นโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ฯลฯ เข้าด้วยกัน เพื่อทำให้คนที่เข้ามาใช้ห้องสมุดได้รับประโยชน์สาระที่มาศึกษาค้นคว้า"
เท่าที่จับใจความได้ ท่านนายกฯ มองภาพห้องสมุดต่างๆ ว่าเป็นห้องสมุดที่ตายแล้ว คือ ไม่มีสิ่งจูงใจให้เข้าไปค้นนคว้าหาความรู้ ผู้ที่เข้าไป ใช้ห้องสมุดเป็นเพราะมีความจำเป็นต้องเข้าไป ต้องการจะหาข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการเรียนหรือการทำงานเท่านั้น ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่เข้าไป ไม่เหมือน กับศูนย์การค้า หรือแหล่งบันเทิงอื่นๆ ที่มีคนไปยืนรอเวลาเข้าใช้บริการทำอย่างไร ห้องสมุดจะมีสภาพเป็นเช่นนั้นบ้าง
เดิมที ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2544 ณ ทบวงมหาวิทยาลัย ได้ให้ ห้องสมุดของแต่ละมหาวิทยาลัยได้คิดรูปแบบ และจัดทำโครงการห้องสมุดที่มีชีวิตเพื่อนำเสนอและของบประมาณจากรัฐบาล หลังจากนั้น ได้มี การเสนอโครงการหลากหลายตามสภาพของห้องสมุดแต่ละมหาวิทยาลัยเข้าไป แต่ในที่ประชุมครั้งต่อมา ได้ขอให้ทุกมหาวิทยาลัยร่วมกันคิดทำเป็นโครงการเดียวเพื่อความสะดวกในการของบประมาณและได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องนี้กันอีกหลายครั้ง แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานและงบประมาณของรัฐ โครงการห้องสมุดที่มีชีวิตยังคงดำเนินการไม่แล้วเสร็จจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ประเด็นปัญหาในการทำห้องสมุดที่มีชีวิตที่พิจารณากันมีอยู่ 4-5 เรื่อง เช่น การเปิดห้องสมุดในศูนย์การค้าหรือแหล่งชุมชน การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ การให้บริการสารสนเทศแบบออนไลน์ การเปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการได้ตลอดเวลามีบริการอาหารและเครื่องเล่น ที่เหมาะสมซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากทั้งสิ้นถ้ารัฐไม่ให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอ การดำเนินการก็จะมีข้อจำกัดตาม สถานภาพของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีแนวความคิดในเรื่องรูปของห้องสมุดที่มีชีวิตว่า ควรเป็นอย่างไร จะมีอะไรบ้าง จริงๆ แล้ว เรื่องนี้น่าจะเป็นไปตามสถานภาพของห้องสมุดแต่ ละแห่ง เพราะความพร้อมไม่เท่ากัน การปรับปรุง
เพื่อให้เกิดห้องสมุดที่มีชีวิตควรเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละห้องสมุดซึ่งอาจแยกออกได้ 2 ส่วน คือ หนึ่ง การให้บริการข้อมูลสารสนเทศในระบบออนไลน์แก่ประชาชน ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นจะต้องใช้งบประมาณสูงเพื่อปรับปรุงระบบเทคโนโลยี ซึ่ง ขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการในส่วนของเครือข่ายการศึกษาของชาติ ( EdNet ) ส่วนที่สอง คือ การปรับปรุงห้องสมุดเดิมให้กลายเป็นห้องสมุด ที่มีชีวิต โดยมีเป้าหมายหลักตามนโยบายของท่านนายกฯ ที่ว่า "เป็นห้องสมุดที่ผู้ใช้มีความพอใจและมีความสุขในการเข้าใช้บริการ" ในส่วนนี้จะใช้ งบประมาณไม่มากนัก เพราะห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความพร้อมในด้านสถานที่ ทรัพยากรสารสนเทศและ

บุคลากรอยู่แล้ว อาจ จะมีสิ่งเพิ่มเติมอื่นๆ อีกบ้างที่ต้องเสริมแต่งเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายการดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่ห้องสมุดที่มีชีวิตอาจจะทำได้ดังนี้
ขั้นตอนแรก จะต้องรู้สถานภาพของตัวเอง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมีหลายแบบ มีขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง มีงบประมาณ มีทรัพยากร สารสนเทศ และมีบุคลากรมากน้อยแตกต่างกัน ในส่วนนี้รัฐจำเป็นจะต้องช่วยเสริมให้มีสภาพใกล้เคียงกัน สิ่งที่ต้องเพิ่มเติม คือ การให้ความสำคัญ กับห้องเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น มีหนังสือและวารสารมากมาย มีเครื่องเล่นและอุปกรณ์เสริมสติปัญญาเช่น มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตอย่าง เพียงพอ มีบรรณารักษ์ดูแลโดยเฉพาะ
ขั้นตอนที่สอง คนที่มาใช้บริการเป็นใคร เขาพอใจแล้วยัง ทำอย่างไรให้เขาพอใจเพิ่มมากขึ้น ผู้ใช้บริการหลักของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ได้แก่ นิสิตและอาจารย์ ซึ่งส่วนนี้ห้องสมุดจะต้องให้บริการอย่างเต็มที่อยู่แล้วและจะต้องให้เขามีความพอใจเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา
ขั้นตอนที่สาม ชักจูงคนให้เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น อันได้แก่บุคคลภายนอก คือ เด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป ลองสำรวจดูว่า ทำไม เขาจึงไม่เข้ามาใช้ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย อาจปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับบางส่วนที่ไม่เอื้อต่อบุคคลภายนอกแล้วจะต้องมีการโฆษณา ชักจูงเพื่อให้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น ในการนี้ มหาวิทยาลัยควรจัดให้มีห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อบริการแก่โรงเรียนและชุมชนและเพื่อการประชาสัมพันธ์
ขั้นตอนที่สี่ พยายามให้คนอยู่ในห้องสมุดนานที่จะนานได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเสริมความสุข คือ มีวารสารและหนังสือหลากหลาย สิ่งพิมพ์ ทุกชนิดล้วนมีคุณค่าในตัวเองทั้งสิ้น อันสังเกตได้จากแผงหนังสือริมถนนที่ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก ห้องสมุดน่าจะจัดให้มีสภาพ อย่างเดียวกันมีอาหารเครื่องดื่ม มีกิจกรรมความบันเทิงสำหรับพักผ่อนหย่อนใจไปในตัว
กระบวนการทั้งสี่ขั้นตอนสามารถนำไปใช้กับห้องสมุดไหนก็ได้ ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก แต่หากบรรณารักษ์และบุคลากรของ ห้องสมุดขาดจิตบริการแล้ว ห้องสมุดไหนก็เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตไปไม่ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ความมีน้ำใจ ความเอื้ออารีต่อผู้ใช้บริการจะเป็น ปัจจัยหลักในการดึงดูดให้คนเข้ามาใช้ห้องสมุด ซึ่งบางทีผู้ใช้บริการเพียงแค่อยากจะเข้าไปคุยกับบรรณารักษ์ เพราะชอบนิสัยเป็นการส่วนตัว แต่หลังจากคุยแล้วบรรณารักษ์ควรทำหน้าที่แนะนำหนังสือหรือสื่อใหม่ๆที่สนใจให้ด้วย ก็จะเป็นประโยชน์สองทาง
ห้องสมุดของไทยเริ่มมาจากวังและวัด อันเป็นที่รวมนักปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้ทรงความรู้ ที่ได้ศึกษาบันทึกและรวบรวมศาสตร์ต่างๆเอาไว้ หลังจากนั้นก็เริ่มมีห้องสมุดของสถานศึกษา หน่วยงานราชการ และห้องสมุดประชาชน สภาพห้องสมุดจะแตกต่างกันเป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนั้นน่าจะเป็นห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศและ เทคโนโลยีพร้อมมากที่สุด

ส่วนห้องสมุดโรงเรียนค่อนข้างจะขาดแคลนมากที่สุด ( ยกเว้นโรงเรียนขนาดใหญ่บางแห่ง ) คือ ขาดทั้งหนังสือและ คอมพิวเตอร์ ดังจะเห็นได้จากการทอดผ้าป่าหนังสือและการขอรับบริจาคคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ให้เห็นเป็นประจำ ห้องสมุดหน่วยงานราชการมัก เป็นห้องสมุดเฉพาะทางที่เอื้อให้กับบุคคลเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ห้องสมุดประชาชน โดยเฉพาะในระดับจังหวัด ( ไม่ต้องกล่าวถึงในระดับอำเภอ หรือระดับชุมชน ) เป็นห้องสมุดที่อาภัพที่สุด ขาดการดูแลเอาใจใส่จากรัฐบาลมาทุกยุคทุกสมัยทั้งๆ ที่เป็นแหล่งหลักที่จะส่งเสริมให้คนรู้จักรัก การอ่านและศึกษาหาความรู้ ประเทศที่เจริญแล้วถือว่า ห้องสมุดประชาชนเป็นหัวใจของการศึกษา เป็นที่ที่ประชาชนเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองรัฐจึงให้ การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในขณะที่ประเทศไทยไม่ได้สนใจในส่วนนี้อย่างจริงจัง ทั้งที่ห้องสมุดที่มีชีวิตน่าจะเริ่มต้นจากห้องสมุดประชาชนได้ ถ้า รัฐบาลจะทุ่มเทงบประมาณ 3 - 4 พันล้านเพื่อ คืนชีพห้องสมุดประชาชนที่ตายแล้ว ทั่วประเทศ ก็น่าจะสอดรับกับนโยบาย " ประชานิยมเพื่อการ ศึกษา " ของรัฐบาลได้
สัมพันธ์ พลันสังเกตุ. ( 2546 ). ห้องสมุดที่มีชีวิต.
วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ, 2, 16 - 19.